ศิลปากรสร้างเครื่องต้นแบบเปลี่ยนขยะพลาสติกให้กลับไปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งเป้าขยายเป็นโรงงานต้นแบบกำลังผลิตขนาด 100 ลิตรต่อวันใช้ในชุมชน
รศ.จำนงค์ ธำรงมาศ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หัวหน้าโครงการวิจัยการผลิตน้ำมันสังเคราะห์และก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก เปิดเผยว่า เครื่องผลิตน้ำมันสังเคราะห์และก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติกต้นแบบที่พัฒนา ขึ้นสามารถเปลี่ยนขยะพลาสติกกลับไปเป็นน้ำมันดีเซลและเบนซินที่มีคุณภาพ เทียบเท่ากับที่มีขายในท้องตลาด
ทีมนักวิจัยได้นำพลาสติกมาศึกษาหลายชนิด จน พบว่าชนิดโพลีเอทธิลีนและพอลิโพรพิลีน หรือพวกถุงพลาสติกใส่ของส่วนใหญ่ มีสารประกอบคาร์บอนไฮโดรเจน แต่ไม่มีคลอรีน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมหลังการเผาไหม้ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำมันสังเคราะห์และก๊าซเชื้อเพลิง เครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเผาพลาสติกได้ครั้งละ 5 กิโลกรัมต่อครั้ง หัวใจสำคัญคือ การควบคุมความดันและอุณหภูมิ ทีมวิจัยเลือกใช้ความร้อนอยู่ระหว่าง 300 -700 องศาเซลเซียสทำให้เม็ดพลาสติกแตกตัวเป็นของเหลวและควบแน่นกลายเป็นไอจนกลั่นตัวเป็นน้ำมันและก๊าซประมาณ 5 ลิตร สามารถนำไปหุงต้มได้
นักวิจัย กล่าวว่า เมื่อนำตัวอย่างน้ำมันสังเคราะห์และก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติกมาเปรียบ เทียบคุณภาพกับน้ำมันในท้องตลาดที่ได้มาตรฐานในห้องปฏิบัติการ พบว่า ก๊าซมีเทนให้ค่าความร้อนมากกว่าแก๊สแอลพีจี 15% ส่วน
ต่อไปก็ก่อนทิ้งขยะที่เป็นพลาสติกน่าจะเก็บถุงพลาสติกเอาไว้ แยกขยะพลาสติกออกต่างหากเป็นสัดเป็นส่วนจะได้นำไปให้นักวิจัยเขาสังเคราะห์ เป็นนำมันเพื่อลดพลังงานและลดมลวะเป็นพิษทางอากาศ
ที่มา http://news.thaieasyjob.com/technology/show_news-2309-8.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น