วาเลนไทน์

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครื่องขอความช่วยเหลือ

ส่วนประชาสัมพันธ์ สสวท. - นักเรียน ม.6 ชูครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือระบุพิกัดจีพิเอส ผลงานชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ สสวท.ผนวกเทคโนโลยีระบุพิกัดจากดาวเทียมร่วมกับคลื่นวิทยุ ช่วยเจ้าหน้าที่ค้นหาผู้ประสบภัยได้ในระยะ 5 กิโลเมตร


      
ส่วนประชาสัมพันธ์ สสวท. - นักเรียน ม.6 ชูครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือระบุพิกัดจีพิเอส ผลงานชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ สสวท.ผนวกเทคโนโลยีระบุพิกัดจากดาวเทียมร่วมกับคลื่นวิทยุ ช่วยเจ้าหน้าที่ค้นหาผู้ประสบภัยได้ในระยะ 5 กิโลเมตร
      
       วันนี้พามารู้จักกับเด็กไทยรักไอทีรุ่นใหม่ คือ นายพลกฤษณ์ สุขเฉลิม หรือ เต้ย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี จังหวัดราชบุรี เจ้าของผลงาน “โครงงานเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัด GPS” ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทประยุกต์ใช้งาน จาก โครงการ IPST ROBOT CONTEST 2010 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังจะเป็นจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประจำปี 2554 ที่จะถึงนี้
      
       “เต้ย” ศึกษาเทคโนโลยีวิทยุสื่อสารอยู่แล้ว จึงพัฒนาโครงงานนี้ขึ้นจากความสนใจที่มีอยู่เดิม ประกอบกับเหตุการณ์ หรือ อุบัติเหตุต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น เครื่องบินตกที่จังหวัดน่าน พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ไม่สามารถหาผู้ประสบภัยเจอ กลายเป็นอุปสรรคของการเข้าช่วยเหลือ


      
       ด้วยเหตุผลดังกล่าว เต้ยจึงได้พัฒนาโครงงานนี้ขึ้นมาโดยหวังว่าจะอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือและกู้ภัย โดยอุปกรณ์จะส่งสัญญานขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยกู้ภัยในทันทีที่เกิดเหตุ พร้อมทั้งพิกัดที่เกิดเหตุ เพื่อให้หน่วยกู้ภัยสามารถเข้าช่วยเหลือได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาค้นหา และช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ประสบภัยได้อย่างมาก ซึ่งโครงงานนี้มีอาจารย์กำธร ใช้พระคุณ เป็นคุณครูที่ปรึกษา
      
       โดยน้องเต้ยได้นำเอาเทคโนโลยีการระบุพิกัดด้วยดาวเทียม หรือ GPS มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สายด้วยคลื่นวิทยุ และการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมมาช่วยในการพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าว โดย การใช้การระบุพิกัดผ่านดาวเทียม และนำเอาพิกัดดังกล่าวส่งไปกับคลื่นวิทยุผ่านทางดาวเทียมไปยังสถานีฐาน หากเกิดเหตุขึ้น อุปกรณ์สามารถส่งสัญญานขอความช่วยเหลือไปพร้อมกับพิกัด GPS ไปยังสถานีฐานที่เป็นหน่วยกู้ภัย ให้รับทราบถึงเหตุดังกล่าว และตำแหน่งที่ต้องเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
      
       ในการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญานขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัด GPS ได้พัฒนาอุปกรณ์ใน 4 ส่วน ใหญ่ ๆ คือ GPS Module Modem ระบบควบคุมการส่งสัญญานขอความช่วยเหลือ และเครื่องส่งวิทยุ อุปกรณ์แต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันในการทำงาน เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
      
       ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบการใช้งาน โดยจำลองการค้นหาผู้ประสบภัยในพื้นที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร พบว่า สามารถที่จะทราบเหตุที่เกิดขึ้นโดยทันที และสามารถที่จะเข้าช่วยเหลือได้ในเวลาไม่นานนักหลังจากได้รับสัญญานขอความช่วยเหลือดังกล่าว เนื่องจากทราบพิกัดของผู้ขอความช่วยเหลืออย่างละเอียด อีกทั้ง จากการทดสอบอุปกรณ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการส่งสัญญาน พบว่า สามารถส่งสัญญานได้ในระยะสูงสุดถึง 2,000 กิโลเมตรห่างจากสถานีฐาน โดยใช้ดาวเทียม HOPE-1 คือ สามารถรับพิกัดจากประเทสไทย (จังหวัดราชบุรี) จากหมู่เกาะตอนล่างของประเทศญี่ปุ่นได้ในระดับหนึ่ง
      
       เต้ยเริ่มหัดเขียนโปรแกรมตั้งแต่ ม.ต้น หาความรู้จาก อาจารย์ จากความรู้ต่างๆที่มีอยู่ ผมคิดว่าความรู้มีอยู่ทุกที่อยู่แล้ว จากนั้นก็หาประสบการณ์จากการแข่งขันด้านคอมพิวเตอร์มาเรื่อยๆ “ผมว่าคอมพิวเตอร์เป็นอะไรที่น่าสนใจ เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิตได้”
      
       “เต้ย” ยังบอกอีกว่า ทุกวันนี้เด็กรุ่นใหม่อย่างเขา สนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น แต่เด็กบางส่วนยังใช้คอมพิวเตอร์ไม่ถูก เอาเวลาส่วนใหญ่ไปใช้กับการเล่นเกม แต่ขณะเดียวกันเด็กหลายคนก็พัฒนาได้จากการเล่นเกมเช่นกัน ดังนั้น เขาเห็นว่าจะต้องมาปรับนิสัย ปรับพฤติกรรมเด็กให้ได้ ให้ใช้คอมพิวเตอร์ในทางสร้างสรรค์มากขึ้น
      
       จากความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้ พลกฤษณ์ หรือ “เต้ย” ได้โควตาเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในปีการศึกษาหน้านี้ และเขายังตั้งความหวังไว้ว่าอยากเป็นอาจารย์ด้านวิศวกรรมต่อไปในอนาคต

       วันนี้พามารู้จักกับเด็กไทยรักไอทีรุ่นใหม่ คือ นายพลกฤษณ์ สุขเฉลิม หรือ เต้ย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี จังหวัดราชบุรี เจ้าของผลงาน “โครงงานเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัด GPS” ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทประยุกต์ใช้งาน จาก โครงการ IPST ROBOT CONTEST 2010 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังจะเป็นจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประจำปี 2554 ที่จะถึงนี้
      
       “เต้ย” ศึกษาเทคโนโลยีวิทยุสื่อสารอยู่แล้ว จึงพัฒนาโครงงานนี้ขึ้นจากความสนใจที่มีอยู่เดิม ประกอบกับเหตุการณ์ หรือ อุบัติเหตุต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น เครื่องบินตกที่จังหวัดน่าน พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ไม่สามารถหาผู้ประสบภัยเจอ กลายเป็นอุปสรรคของการเข้าช่วยเหลือ
      
       ด้วยเหตุผลดังกล่าว เต้ยจึงได้พัฒนาโครงงานนี้ขึ้นมาโดยหวังว่าจะอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือและกู้ภัย โดยอุปกรณ์จะส่งสัญญานขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยกู้ภัยในทันทีที่เกิดเหตุ พร้อมทั้งพิกัดที่เกิดเหตุ เพื่อให้หน่วยกู้ภัยสามารถเข้าช่วยเหลือได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาค้นหา และช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ประสบภัยได้อย่างมาก ซึ่งโครงงานนี้มีอาจารย์กำธร ใช้พระคุณ เป็นคุณครูที่ปรึกษา
      
       โดยน้องเต้ยได้นำเอาเทคโนโลยีการระบุพิกัดด้วยดาวเทียม หรือ GPS มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สายด้วยคลื่นวิทยุ และการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมมาช่วยในการพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าว โดย การใช้การระบุพิกัดผ่านดาวเทียม และนำเอาพิกัดดังกล่าวส่งไปกับคลื่นวิทยุผ่านทางดาวเทียมไปยังสถานีฐาน หากเกิดเหตุขึ้น อุปกรณ์สามารถส่งสัญญานขอความช่วยเหลือไปพร้อมกับพิกัด GPS ไปยังสถานีฐานที่เป็นหน่วยกู้ภัย ให้รับทราบถึงเหตุดังกล่าว และตำแหน่งที่ต้องเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
      
       ในการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญานขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัด GPS ได้พัฒนาอุปกรณ์ใน 4 ส่วน ใหญ่ ๆ คือ GPS Module Modem ระบบควบคุมการส่งสัญญานขอความช่วยเหลือ และเครื่องส่งวิทยุ อุปกรณ์แต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันในการทำงาน เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
      
       ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบการใช้งาน โดยจำลองการค้นหาผู้ประสบภัยในพื้นที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร พบว่า สามารถที่จะทราบเหตุที่เกิดขึ้นโดยทันที และสามารถที่จะเข้าช่วยเหลือได้ในเวลาไม่นานนักหลังจากได้รับสัญญานขอความช่วยเหลือดังกล่าว เนื่องจากทราบพิกัดของผู้ขอความช่วยเหลืออย่างละเอียด อีกทั้ง จากการทดสอบอุปกรณ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการส่งสัญญาน พบว่า สามารถส่งสัญญานได้ในระยะสูงสุดถึง 2,000 กิโลเมตรห่างจากสถานีฐาน โดยใช้ดาวเทียม HOPE-1 คือ สามารถรับพิกัดจากประเทสไทย (จังหวัดราชบุรี) จากหมู่เกาะตอนล่างของประเทศญี่ปุ่นได้ในระดับหนึ่ง
      
       เต้ยเริ่มหัดเขียนโปรแกรมตั้งแต่ ม.ต้น หาความรู้จาก อาจารย์ จากความรู้ต่างๆที่มีอยู่ ผมคิดว่าความรู้มีอยู่ทุกที่อยู่แล้ว จากนั้นก็หาประสบการณ์จากการแข่งขันด้านคอมพิวเตอร์มาเรื่อยๆ “ผมว่าคอมพิวเตอร์เป็นอะไรที่น่าสนใจ เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิตได้”
      
       “เต้ย” ยังบอกอีกว่า ทุกวันนี้เด็กรุ่นใหม่อย่างเขา สนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น แต่เด็กบางส่วนยังใช้คอมพิวเตอร์ไม่ถูก เอาเวลาส่วนใหญ่ไปใช้กับการเล่นเกม แต่ขณะเดียวกันเด็กหลายคนก็พัฒนาได้จากการเล่นเกมเช่นกัน ดังนั้น เขาเห็นว่าจะต้องมาปรับนิสัย ปรับพฤติกรรมเด็กให้ได้ ให้ใช้คอมพิวเตอร์ในทางสร้างสรรค์มากขึ้น
      
       จากความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้ พลกฤษณ์ หรือ “เต้ย” ได้โควตาเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในปีการศึกษาหน้านี้ และเขายังตั้งความหวังไว้ว่าอยากเป็นอาจารย์ด้านวิศวกรรมต่อไปในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น