วาเลนไทน์

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เสื้อเกราะพลาสติก






มหิดล  ใช้เม็ดพลาสติกจากท้องตลาดพัฒนาเสื้อเกราะช่วยทหารใต้

สวัสดี ค่ะ วันนี้ดิฉันมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการคิดค้นหาวิธีช่วยเหลือทหารใต้ ที่เผชิญกับสถานการณ์อันรุนแรงในภาคใต้ คือ นักวิจัยกำลังพัฒนาเสื้อเกราะที่ผลิตมาจากเม็ดพลาสติกที่มีอยู่ตามท้องตลาด ที่นักวิจัยคิดค้นเพื่อการช่วยเหลือทหารที่ทำงานอยู่ในภาคไต้  



จาก ปัญหาจำนวนเสื้อเกราะกันกระสุนสำหรับทหารที่ประจำการปฏิบัติภารกิจอยู่ที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เพียงพอ อีกทั้งที่มีใช้อยู่นั้นต้องนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง รูปทรงไม่เหมาะสมกับคนไทย และอายุการใช้งานสั้นบริษัทพีทีที โพลิเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัดจึงสนับสนุนนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีงานวิจัยเส้นใยจากเม็ดพลาสติกโพลีเอทีลีนชนิดความหนาแน่นสูงด้วยจำนวน เงิน 5.5 ล้านบาทเป็นเวลา 18 เดือนเพื่อผลิตเสื้อเกราะ 100 ชุดเพื่อส่งมอบให้หน่วยงานราชการ ทั้งนี้ต้องการให้เป็นเสื้อเกราะที่ผลิตขึ้นจากงานวิจัยและวัสดุภายในประเทศ 100% โดยเบื้องต้นตั้งเป้าผลิตชุดเกราะหนัก 9 กิโลกรัมและผลิต ผลิตเสื้อเกราะให้เบาขึ้นเหลือ 6 กิโลกรัม
 
 การพัฒนาเส้นใยสำหรับเสื้อเกราะกันกระสุนโดยนำเม็ดพลาสติกโพลีเอทีลีนที่มีขายในท้องตลาดมายืดออกนั้น  ทำ ให้โมเลกุลยืดออกเป็นเส้นตรงและมีความแข็งแรงมากขึ้น เพื่อนำไปใช้ผลิตเป็นแผ่นพลาสติกสำหรับใส่เป็นแผ่นดูดซับแรงกระแทกจากกระสุน ในชั้นในของเสื้อเกราะ ชุดเกราะที่ผลิตได้นี้จะมีความสามารถกันกระสุนปืนยาวหรือไรเฟิลนับเป็นการ ป้องกันภัยบุคคลระดับ 3 ตามมาตรฐานของเอ็นไอเจ (National Institute of Justice) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นระดับที่รับแรงกระแทกจากกระสุนเอ็ม 16 ได้

 ชุด เกราะจะประกอบด้วยแผ่นเซรามิกส์ซึ่งมีความแข็งและกระจายแรงจากหัวกระสุนที่ พุ่งเข้ามาแบบหมุนควงได้ดี ส่วนแผ่นพลาสติกจะช่วยดูดซับแรงกระแทกและปัจจุบันสามารถยืดเส้นใยพลาสติกได้ 30 เท่า กำลังการผลิต คือ ผลิตได้ครั้งละเส้นด้วยความเร็วในการผลิต 30 เมตรต่อนาที ซึ่งคาดว่น่าจะมีการดำเนินการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ














ที่มา  http://www.thai-plastic.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น