วาเลนไทน์

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รักไม่ต้องการเวลา หนูนา กวน มึน โฮ

"กราฟีน" วัสดุบางสุด

“กราฟีน” วัสดุบางสุดในจักรวาล ที่จะฆ่า “กฎของมัวร์”

“กฎของมัวร์” บอกว่าทรานซิสเตอร์ที่ใส่ลงไปในชิปจะเพิ่มเป็น 2 ทุกๆ 18 เดือน และที่สุดทรานซิสเตอร์ซึ่งอัดแน่นจะทำให้ชิปร้อนขึ้นและลดประสิทธิภาพลง แต่ด้วย “กราฟีน” วัสดุที่คิดค้นโดย 2 นักฟิสิกส์ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลจะทำให้เราไม่ต้องเผชิญปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป
      
       เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ต้องขึ้นอยู่กับ “กฎของมัวร์” (Gordon Moore) ที่ตั้งชื่อตาม กอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทผลิตชิปอินเทล (Intel) ซึ่งกฎดังกล่าวระบุว่า จำนวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถใส่ลงไปในชิปนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าทุกๆ 18 เดือน นั่นอธิบายได้ถึงความเร็วและความจุของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในยุคปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
      
       กฎดังกล่าว ซึ่งทำนายโดยมัวร์นั้นคงอยู่จนถึงกลางทศวรรษ 1970 และยังคงเป็นอย่างนั้นอยู่ แต่สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า จะเป็นเช่นนั้นอีกต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะประมาณการณ์ว่า ในช่วงต้นปี 2015 วิศวกรที่ยังใช้งานซิลิกอนหรือวัสดุอื่นๆ ที่ใช้ก่อนหน้านี้จะเผชิญกับข้อจำกัดของการย่อส่วน เมื่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากต้องอัดแน่นอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นและส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลง
      
       อย่างไรก็ดี วัสดุใหม่อย่าง “กราฟีน” (graphene) เป็นวัสดุแห่งความหวังที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และส่งผลให้ อังเดร ไกม์ (Andre Geim) วัย 51 ปี และ คอนสแตนติน โนโวเซลอฟ (Konstantin Novoselov) วัย 36 ปี 2 นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (University of Manchester) อังกฤษ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2010



“กฎของมัวร์” บอกว่าทรานซิสเตอร์ที่ใส่ลงไปในชิปจะเพิ่มเป็น 2 ทุกๆ 18 เดือน และที่สุดทรานซิสเตอร์ซึ่งอัดแน่นจะทำให้ชิปร้อนขึ้นและลดประสิทธิภาพลง แต่ด้วย “กราฟีน” วัสดุที่คิดค้นโดย 2 นักฟิสิกส์ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลจะทำให้เราไม่ต้องเผชิญปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป
      
       เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ต้องขึ้นอยู่กับ “กฎของมัวร์” (Gordon Moore) ที่ตั้งชื่อตาม กอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทผลิตชิปอินเทล (Intel) ซึ่งกฎดังกล่าวระบุว่า จำนวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถใส่ลงไปในชิปนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าทุกๆ 18 เดือน นั่นอธิบายได้ถึงความเร็วและความจุของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในยุคปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
      
       กฎดังกล่าว ซึ่งทำนายโดยมัวร์นั้นคงอยู่จนถึงกลางทศวรรษ 1970 และยังคงเป็นอย่างนั้นอยู่ แต่สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า จะเป็นเช่นนั้นอีกต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะประมาณการณ์ว่า ในช่วงต้นปี 2015 วิศวกรที่ยังใช้งานซิลิกอนหรือวัสดุอื่นๆ ที่ใช้ก่อนหน้านี้จะเผชิญกับข้อจำกัดของการย่อส่วน เมื่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากต้องอัดแน่นอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นและส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลง
      
       อย่างไรก็ดี วัสดุใหม่อย่าง “กราฟีน” (graphene) เป็นวัสดุแห่งความหวังที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และส่งผลให้ อังเดร ไกม์ (Andre Geim) วัย 51 ปี และ คอนสแตนติน โนโวเซลอฟ (Konstantin Novoselov) วัย 36 ปี 2 นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (University of Manchester) อังกฤษ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2010
      
       กราฟีนเป็นนวัตกรรมจากการจัดเรียงโครงสร้างคาร์บอน ซึ่งประกอบไปด้วยอะตอมชั้นเดียวที่จัดเรียงโครงสร้างแลตติซ (lattice) คล้ายรังผึ้ง แต่ถึงแม้วัสดุที่ใช้มีองคืประกอบเคมีอย่างพื้นๆ แต่แสดงออกถึงความแข็งแรง การนำไฟฟ้าและการกระจายความร้อนและได้อย่างโดดเด่น จึงทำให้วัสดุชนิดใหม่นี้เป็นผู้เช้าชิงอันโดดเด่นที่จะแทนที่ชิปสารกึ่งตัวนำหรือชิปเซมิคอนดัคเตอร์ อีกทั้งยังอธิบายได้ว่าเหตุใดบริษัทผลิตชิปยักษ์ใหญ่อย่างไอบีเอ็มและอินเทลจึงลงทุนมโหฬารในวัสดุชนิดนี้ ซึ่งปัจจุบันยังเป็นแค่ผลึกบาง
      
       “เพชรอาจเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของผู้หญิง แต่สำหรับกราฟีนนั้นให้วิธีใหม่ในการใส่อิเล็กตรอนเข้าไปในคาร์บอนได้อย่างคาดไม่ถึง” มาร์แชล สโตนแฮม (Marshall Stoneham) ผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกส์ในลอนดอน (Institute of Physics in London) ให้ความเห็น
      
       ตามทฤษฎีแล้วทรานซิสเตอร์จากกราฟีนนั้น มีความเร็วมากกว่าทรานซิสเตอร์จากซิลิกอนสูงมาก อีกทั้งยังรับกับอุณหภูมิที่สูงกว่าได้ดีกว่าด้วย นอกจากนี้กราฟีนซึ่งโปร่งแสงจนเกือบจะใสแจ๋วนั้น ยังเหมาะที่จะนำไปทำหน้าจอสัมผัส แผงไฟส่องสว่างและอาจรวมถึงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ และหากรวมเข้ากับพลาสติกแล้วโครงสร้างผลึกคาร์บอนของกราฟีนจะทำให้ได้วัสดุที่แข็งแรงและทนความร้อน ซึ่งสามารถนำวัสดุประเภทนี้ไปใช้กับดาวเทียม เครื่องบินหรือรถยนต์ทรงสมรรถนะได้ในอนาคต
      
       “กราฟีนเป็นที่รู้จักในฐานะวัสดุมหัศจรรย์ ไม่เพียงแค่เป็นวัสดุที่บางที่สุดในจักรวาล แต่ยังแข็งแรงที่สุดเท่าที่เคยวัดได้ มันรองรับกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าทองแดงหลายล้านเท่า” ไกม์ นักฟิสิกส์ที่เพิ่งได้รับรางวัลโนเบลหมาดๆ กล่าว และอธิบายถึงการทดลองปรากฏการณ์ระดับควอนตัมของวัสดุชนิดนี้ซึ่งยังได้ผลออกไม่ครบ โดยปีที่แล้วเขายังได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจากราชบัณฑิตแห่งอังกฤษอีกด้วย
      
       ทั้งนี้ ทฤษฎีเกี่ยวกับกราฟีนเริ่มขึ้นเมื่อปี 1947 แต่เป็นเวลาหลายทศวรรษที่นักฟิสิกส์ทั้งหลายคิดว่า วัสดุชนิดนี้ไม่สามารถอยู่ได้เดี่ยวๆ เนื่องจากแผ่นผลึกบางนี้รวมตัวกันอย่างไม่เสถียร หากแต่เมื่อปี 2004ไกม์และโนโวเซลอฟได้แสดงให้เห็นความฉลาดและเทคโนโลยีราคาถูกที่ทำได้จริง โดยมีความพยายามในการใช้เทปกาวธรรมดาๆ ดึงผลึกจากชิ้นกราไฟต์ ซึ่งเป็นรูปแบบของคาร์บอนที่พบได้ในไส้ดินสอ
      
       ตอนนี้กราฟีนยังเป็นได้เพียงวัสดุในห้องทดลอง ซึ่งผลิตได้เป็นเพียงผลึกที่เล็กยิ่งกว่าเศษเสี้ยวของมิลลิเมตร จึงเล็กเกินกว่าที่จะนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ยุโรปได้สาธิตให้เห็นว่าจะผลผลึกกราฟีน 1 ชั้นบนวัสดุชนิดอื่นที่อยู่บนซิลิกอนคาร์ไบด์ (silicon carbide) อีกชั้นหหนึ่งได้

      
       กราฟีนเป็นนวัตกรรมจากการจัดเรียงโครงสร้างคาร์บอน ซึ่งประกอบไปด้วยอะตอมชั้นเดียวที่จัดเรียงโครงสร้างแลตติซ (lattice) คล้ายรังผึ้ง แต่ถึงแม้วัสดุที่ใช้มีองคืประกอบเคมีอย่างพื้นๆ แต่แสดงออกถึงความแข็งแรง การนำไฟฟ้าและการกระจายความร้อนและได้อย่างโดดเด่น จึงทำให้วัสดุชนิดใหม่นี้เป็นผู้เช้าชิงอันโดดเด่นที่จะแทนที่ชิปสารกึ่งตัวนำหรือชิปเซมิคอนดัคเตอร์ อีกทั้งยังอธิบายได้ว่าเหตุใดบริษัทผลิตชิปยักษ์ใหญ่อย่างไอบีเอ็มและอินเทลจึงลงทุนมโหฬารในวัสดุชนิดนี้ ซึ่งปัจจุบันยังเป็นแค่ผลึกบาง
      
       “เพชรอาจเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของผู้หญิง แต่สำหรับกราฟีนนั้นให้วิธีใหม่ในการใส่อิเล็กตรอนเข้าไปในคาร์บอนได้อย่างคาดไม่ถึง” มาร์แชล สโตนแฮม (Marshall Stoneham) ผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกส์ในลอนดอน (Institute of Physics in London) ให้ความเห็น
      
       ตามทฤษฎีแล้วทรานซิสเตอร์จากกราฟีนนั้น มีความเร็วมากกว่าทรานซิสเตอร์จากซิลิกอนสูงมาก อีกทั้งยังรับกับอุณหภูมิที่สูงกว่าได้ดีกว่าด้วย นอกจากนี้กราฟีนซึ่งโปร่งแสงจนเกือบจะใสแจ๋วนั้น ยังเหมาะที่จะนำไปทำหน้าจอสัมผัส แผงไฟส่องสว่างและอาจรวมถึงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ และหากรวมเข้ากับพลาสติกแล้วโครงสร้างผลึกคาร์บอนของกราฟีนจะทำให้ได้วัสดุที่แข็งแรงและทนความร้อน ซึ่งสามารถนำวัสดุประเภทนี้ไปใช้กับดาวเทียม เครื่องบินหรือรถยนต์ทรงสมรรถนะได้ในอนาคต
      
       “กราฟีนเป็นที่รู้จักในฐานะวัสดุมหัศจรรย์ ไม่เพียงแค่เป็นวัสดุที่บางที่สุดในจักรวาล แต่ยังแข็งแรงที่สุดเท่าที่เคยวัดได้ มันรองรับกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าทองแดงหลายล้านเท่า” ไกม์ นักฟิสิกส์ที่เพิ่งได้รับรางวัลโนเบลหมาดๆ กล่าว และอธิบายถึงการทดลองปรากฏการณ์ระดับควอนตัมของวัสดุชนิดนี้ซึ่งยังได้ผลออกไม่ครบ โดยปีที่แล้วเขายังได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจากราชบัณฑิตแห่งอังกฤษอีกด้วย
      
       ทั้งนี้ ทฤษฎีเกี่ยวกับกราฟีนเริ่มขึ้นเมื่อปี 1947 แต่เป็นเวลาหลายทศวรรษที่นักฟิสิกส์ทั้งหลายคิดว่า วัสดุชนิดนี้ไม่สามารถอยู่ได้เดี่ยวๆ เนื่องจากแผ่นผลึกบางนี้รวมตัวกันอย่างไม่เสถียร หากแต่เมื่อปี 2004ไกม์และโนโวเซลอฟได้แสดงให้เห็นความฉลาดและเทคโนโลยีราคาถูกที่ทำได้จริง โดยมีความพยายามในการใช้เทปกาวธรรมดาๆ ดึงผลึกจากชิ้นกราไฟต์ ซึ่งเป็นรูปแบบของคาร์บอนที่พบได้ในไส้ดินสอ
      
       ตอนนี้กราฟีนยังเป็นได้เพียงวัสดุในห้องทดลอง ซึ่งผลิตได้เป็นเพียงผลึกที่เล็กยิ่งกว่าเศษเสี้ยวของมิลลิเมตร จึงเล็กเกินกว่าที่จะนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ยุโรปได้สาธิตให้เห็นว่าจะผลผลึกกราฟีน 1 ชั้นบนวัสดุชนิดอื่นที่อยู่บนซิลิกอนคาร์ไบด์ (silicon carbide) อีกชั้นหหนึ่งได้

ตู้เย็นรีดผ้า

“ตู้เย็นรีดผ้า” ใช้ความร้อนหลังตู้เย็นรีดผ้าให้เรียบ

ในขณะที่ “ตู้เย็น” ให้ความเย็นที่ช่วยรักษาสภาพอาหารและผัก-ผลไม้ให้สดอยู่เสมอ ความร้อนที่เกิดขึ้นจากเครื่องทำความเย็นประจำครัวนี้ ก็ปล่อยความร้อนทิ้งตลอดเวลาเช่นกัน แต่จากนี้ความร้อนหลังตู้เย็นจะไม่เสียเปล่าแล้ว ด้วยนวัตกรรม “ตู้เย็นรีดผ้า” จะทำให้ผ้าเรียบได้โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า 



      
       “ตู้เย็นรีดผ้า” เป็นนวัตกรรมของ นายอนันต์ธนภัทร คล่องแคล่ว อาจารย์แผนกวิชาช่างไฟฟ้า วิทยาลัยการอาชีพพระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ และลูกศิษย์ที่ช่วยกันคิดหาวิธีใช้ประโยชน์จากความร้อนหลังตู้เย็นที่ถูกระบายทิ้ง ซึ่งเขาอธิบายกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ได้นำลวดทองแดงมาขดเป็นวงกลมเพื่อระบายความร้อนจากตู้เย็น แล้วใช้น้ำเป็นตัวพาความร้อนออกจากขดลวด
      
       เมื่อน้ำได้รับความร้อนแล้ว จะถูกส่งเข้าไปในเตารีดซึ่งออกแบบมาพิเศษสำหรับนวัตกรรมนี้ ความร้อนที่เตารีดได้รับนี้นำไปใช้รีดผ้าได้ตั้งแต่เสื้อนักเรียนตัวบางๆ จนถึงกางเกงยีนส์ตัวหนาๆ ได้ และนอกจากใช้รีดผ้าแล้ว น้ำร้อนที่ได้ยังนำไปใช้อุ่นอาหารหรือชงกาแฟได้ ทั้งนี้ ตู้เย็นรีดผ้ามีคอนโทรลเลอร์ที่ควบคุมการไหลของน้ำ โดยน้ำจะไหลเข้าสู่เตารีดได้เมื่ออุณหภูมิสูง 65-125 องศาเซลเซียสเท่านั้น
      
       สำหรับตู้เย็นที่นับมาดัดแปลงเพื่อนำความร้อนไปใช้กับเตารีดได้นี้ เป็นตู้เย็นเก่าของแผนกวิชาช่างไฟฟ้าที่ทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์เนื่องจากน้ำยาทำความเย็นหมด จึงถูกนำมาดัดแปลงจนได้เป็นนวัตกรรมที่ใช้พลังงานไอย่างคุ้มค่านี้
      
       จุดเด่นของผลงานที่หมุนเวียนพลังงานความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์นี่เองทำให้ "ตู้เย็นเตารีด" นี้ คว้ารางวัลที่ 1 รางวัลพัฒนาเทคโนโลยีด้านการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม ภายในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2553 (TechnoMart InnoMart 2010) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-20 ต.ค.53 ณ อาคาราเลนเจอร์ 2 อิมแพค เมืองทองธานี และผลงานนี้ยังได้รับสิทธิบัตรแล้วด้วย

โซลาร์เซลล์

ใช้ “โซลาร์เซลล์” ผลิตไฟฟ้าไล่ช้าง-ปั๊มน้ำปลูกผักช่วยชุมชน

ถ้ามี “โซล่าร์เซลล์” อยู่ 60 แผง คุณจะเอาไปใช้ประโยชน์ยังไงได้บ้าง? สำหรับนักศึกษาในโครงการ M-150 Ideology 2010 พวกเขาแปลงเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าช่วยชาวบ้านไล่ช้างป่า ปั๊มน้ำปลูกผักช่วยชุมชน และผลิตกระแสไฟฟ้าให้ชุมชนอันห่างไกล 



      
       จัดประกวดเป็นปีที่ 3 แล้วสำหรับโครงการ M-150 Ideology 2010 โซลาร์เซลล์เพื่อชุมชนพอเพียง ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัท โอสถสภา จำกัด โดยเครื่องดื่ม เอ็ม-150 และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อคัดเลือกนักศึกษา 5 ทีมๆ ละ 10 คนไปออกค่ายก่อสร้างและติดตั้งสถานีเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับผลิตพลังงานไฟฟ้าให้แก่ชุมชนที่ห่างไกลในช่วงปิดภาคเรียนเดือน ต.ค.
      
       ทีม KU-SRCWIN จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ศรีราชา) ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ 60 แผงเพื่อติดตั้งให้แก่โรงเรียนบ้านเก่าค้อ ใน ต.หนองมะนาว อ.คง จ.นครราชสีมา เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่ชุมชนในหมู่บ้านใกล้เคียงกับโรงเรียน และใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อจ่ายน้ำไปตามท่อประปาของหมู่บ้าน อีกทั้งยังใช้ในน้ำจากระบบประปาสำหรับแปลงผักในโรงเรียนด้วย
      
       ศราวุธ จันใด นิสิตปี 3 สาขาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ศรีราชา) สมาชิกทีม KU-SRCWIN บอกกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า โครงการนี้มีส่วนให้เกิดความพอเพียงในชุมชน ซึ่งนอกจากช่วยลดค่าประชาในหมู่บ้านและช่วยไม่ให้ปั๊มน้ำประปาในหมู่บ้านทำงานหนักแล้ว ยังช่วยโรงเรียนประหยัดค่าไฟฟ้า สามารถปลูกผักและเป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนได้
      
       ด้าน ทีมเวิร์ค นำแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไปช่วยเหลือชาวสวนยางพาราและชาวบ้านใน ต.บ้านดง อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก โดย รัฐศักดิ์ ดายี่ นิสิตปี 3 สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เล่าให้ทีมข่าววิทยาศาสตร์ฯ ฟังว่า เซลล์แสงอาทิตย์ 60 แผงนั้นผลิตกระแสไฟฟ้าได้วันละ 11,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือ 11 หน่วย โดยสมาชิกทีมได้ร่วมกันติดตั้งสถานีเซลล์แสงอาทิตย์ ณ โรงเรียนบ้านเนินทอง ต.บ้านดง ซึ่งไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนหนึ่งได้จ่ายให้แก่สถานีชาร์จแบตเตอรีสำหรับชาวสวนยางพาราที่ต้องกรีดยางในตอนกลางคืน
      
       นอกจากนี้ ยังแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าออกไปอีก 3 ส่วน คือ สำหรับเครื่องสูบน้ำ เครื่องกรองน้ำดื่มและไฟส่องสว่างเวลากลางคืนสำหรับใช้ภายในโรงเรียน โดยในเวลากลางคืนเสาไฟฟ้าที่สมาชิกทีมเวิร์คร่วมกันสร้างขึ้นจะใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรีที่สำรองพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์ในตอนกลางวัน ซึ่ง รัฐศักดิ์กล่าวว่าโครงการนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กนักเรียนได้มีอาหารกลางวันฟรีจากแปลงผักที่ใช้น้ำซึ่งสูบด้วยกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
      
       “โรงเรียนเป็นอาคารไม้ ดังนั้น การเดินสายไฟในอาคารอาจเสี่ยงไฟไหม้ เราจึงติดตั้งเสานอกอาคารและเดินสายไฟใต้ดิน และติดตั้งปั๊มน้ำอัตโนมัติตามจุดต่างๆ ของอาคารในโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ครูและนักเรียน ซึ่งโรงเรียนบ้านเนินทองนี้เป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่เพิ่งเปิดสอนชั้นมัธยมต้น มีนักเรียนอยู่ 300 คน” รัฐศักดิ์
      
       ทั้งนี้ ในการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์นั้นสมาชิกทีมเวิร์คจะหันแผงเซลล์ไปทางทิศใต้ ซึ่งเป็นทิศที่มีงานวิจัยว่าเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ในไทย และเอียงแผงเซลล์ประมาณ 17 องศา แต่ตามมาตรฐานทั่วไปจะเอียงประมาณ 15 องศา
      
       มาถึงทีม พยัคฆ์ล้านนา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ภาคพายัพ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดของโครงการนั้นได้นำเซลล์แสงอาทิตย์ไปผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ทดแทนแก่โรงเรียนบ้านพลั่งแท อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
      
       วสันต์ จันทร์ทน้อย สมาชิกทีมพยัคฆ์ล้านนา จากสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาฯ กล่าวว่า เดิมโรงเรียนบ้านพลั่งแทนั้นติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์อยู่แล้ว แต่ได้พลังงานไฟฟ้าไม่เพียงพอ จึงได้เลือกโรงเรียนแห่งนี้เป็นสถานที่ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในโครงการ โดยแบ่ง 55 แผงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในโรงเรียน และอีก 5 แผงสำหรับระบบกระจายเสียงของตำบล
      
       เมื่อถามถึงความยากลำบากในการทำงาน วสันต์บอกว่าการเดินทางค่อนข้างยากลำบาก ต้องเวลาเวลาเดินทางถึงหมู่บ้านนาน 8 ชั่วโมง เนื่องจากหมู่บ้านห่างจากตัวอำเภอ 40 กิโลเมตรและเส้นทางสัญจรลำบาก นอกจากนี้ยังไม่มีสัญญาณโทรศัพท์และมีจุดบริการโทรศัพท์แค่จุดเดียว โดยอาศัยการจูนคลื่นวิทยุและเมื่อฝนตกจะไม่สามารถใช้บริการ นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการสื่อสารกับคนในหมู่บ้านซึ่งเป็นชาวเผ่าปกากะญอ จึงต้องมีล่ามช่วยแปล
      
       ทางด้าน ทีมคชสารโซลาร์เซลล์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลือกใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ช่วยชาวบ้านใน ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ไล่ช้างป่าที่ออกมาป่ามากินพืชไร่ของชาวบ้าน ซึ่ง สุรเชษฎ์ เสมอเหมือน สมาชิกทีมจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า บอกว่าชาวบ้านมีพื้นที่เพาะปลูกในบริเวณเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง และพบปัญหาช่างป่าเดินผ่านมาเป็นประจำ จึงมีแนวคิดใช้เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตกระแสไฟฟ้าจ่ายให้แก่รั้วไฟฟ้าที่เป็นแนวป้องกันช้างป่า
      
       วงจรที่ทีมคชสารโซลาร์เซลล์ออกแบบมานั้นจะเพิ่มแรงไฟฟ้าแต่มีกระต่ำมากจนไม่เป็นอันตรายต่อช้าง หากแต่ทำให้ช้างตกใจและผลักออกแนวรั้วป้องกันเท่านั้น นอกจากนี้ยังได้กระแสไฟฟ้าให้ชาวบ้านชาร์จแบตเตอรีเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าในไร่ด้วย โดยติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้กระจายทั่วพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวไร่ที่ต้องการชาร์จแบตเตอรีไปใช้งาน
      
       สุดท้ายคือทีมหนองกระโห้ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก ใช้แผงเซลล์อาทิตย์เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชนในหมู่บ้านเลอตอ ต.แม่ตื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก ซึ่ง สุรศักดิ์ สุวรรณคาม สมาชิกทีมจากสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า กล่าวว่าก่อนที่พวกเขาจะนำแผงเซลล์ขึ้นไปติดตั้งนั้น นักเรียนในโรงเรียนของหมู่บ้านซึ่งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดนและรับนักเรียนกิน-อยู่ประจำ ต้องจุดเทียนอ่านหนังสือ โดยขอรับบริจาคจากทางวัด
      
       ดังนั้น สมาชิกทีมหนองกระโห้จึงช่วยกันติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและการเกษตร รวมถึงให้แสงสว่างแก่ชุมชน โดยในภาคการเกษตรนั้นสมาชิกทีมได้ร่วมกันสร้างฝายและติดตั้งปั๊มเพื่อสูบน้ำใช้ในการเกษตรภายในโรงเรียน ซึ่งมีการปลูกข้าวเป็นอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน
      
       ส่วนอุปสรคในการทำงานนั้น สุรศักดิ์กล่าวถึงความยากลำบากในการเข้าถึงพื้นที่ซึ่งอยู่บนดอยสูงและต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อเพื่อขนส่งอุปกรณ์เข้าไปทำงานในพื้นที่เท่านั้น อีกทั้งในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่สมาชิกทีมเข้าไปทำงานในพื้นที่ยังเสี่ยงต่อการเกิดดินสไลด์อีกด้วย
      
       โครงการ M-150 Ideology 2010 ได้ประกาศผลการประกวดไปเมื่อค่ำวันที่ 11 พ.ย.53 ณ ราชประสงค์เออร์เบิ้น สเปซ ถ.ราชดำริ โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทุนการศึกษาจากเอ็ม-150 อีก 100,000 บาท และสถาบันการศึกษาต้นสังกัดทีมชนะเลิศได้รับทุนพิเศษอีก 50,000 บาท ส่วนอีก 4 ทีมที่เหลือได้โล่เกียรติยศ พร้อมทุนการศึกษา 20,000 บาท และสถาบันการศึกษาต้นสังกัดได้รับทุนการศึกษา 10,000 บาท
      
       ทั้งนี้ บริษัท โอสถสภา จำกัด โดยเครื่องดื่ม เอ็ม-150 และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกันจัดโครงการ M-150 Ideology 2010 ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปีแล้ว โดยชุมชนในโครงการจะได้รับมอบสถานีเซลล์แสงอาทิตย์เป็นสมบัติส่วนรวมของชุมชน

เครื่องขอความช่วยเหลือ

ส่วนประชาสัมพันธ์ สสวท. - นักเรียน ม.6 ชูครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือระบุพิกัดจีพิเอส ผลงานชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ สสวท.ผนวกเทคโนโลยีระบุพิกัดจากดาวเทียมร่วมกับคลื่นวิทยุ ช่วยเจ้าหน้าที่ค้นหาผู้ประสบภัยได้ในระยะ 5 กิโลเมตร


      
ส่วนประชาสัมพันธ์ สสวท. - นักเรียน ม.6 ชูครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือระบุพิกัดจีพิเอส ผลงานชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ สสวท.ผนวกเทคโนโลยีระบุพิกัดจากดาวเทียมร่วมกับคลื่นวิทยุ ช่วยเจ้าหน้าที่ค้นหาผู้ประสบภัยได้ในระยะ 5 กิโลเมตร
      
       วันนี้พามารู้จักกับเด็กไทยรักไอทีรุ่นใหม่ คือ นายพลกฤษณ์ สุขเฉลิม หรือ เต้ย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี จังหวัดราชบุรี เจ้าของผลงาน “โครงงานเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัด GPS” ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทประยุกต์ใช้งาน จาก โครงการ IPST ROBOT CONTEST 2010 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังจะเป็นจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประจำปี 2554 ที่จะถึงนี้
      
       “เต้ย” ศึกษาเทคโนโลยีวิทยุสื่อสารอยู่แล้ว จึงพัฒนาโครงงานนี้ขึ้นจากความสนใจที่มีอยู่เดิม ประกอบกับเหตุการณ์ หรือ อุบัติเหตุต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น เครื่องบินตกที่จังหวัดน่าน พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ไม่สามารถหาผู้ประสบภัยเจอ กลายเป็นอุปสรรคของการเข้าช่วยเหลือ


      
       ด้วยเหตุผลดังกล่าว เต้ยจึงได้พัฒนาโครงงานนี้ขึ้นมาโดยหวังว่าจะอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือและกู้ภัย โดยอุปกรณ์จะส่งสัญญานขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยกู้ภัยในทันทีที่เกิดเหตุ พร้อมทั้งพิกัดที่เกิดเหตุ เพื่อให้หน่วยกู้ภัยสามารถเข้าช่วยเหลือได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาค้นหา และช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ประสบภัยได้อย่างมาก ซึ่งโครงงานนี้มีอาจารย์กำธร ใช้พระคุณ เป็นคุณครูที่ปรึกษา
      
       โดยน้องเต้ยได้นำเอาเทคโนโลยีการระบุพิกัดด้วยดาวเทียม หรือ GPS มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สายด้วยคลื่นวิทยุ และการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมมาช่วยในการพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าว โดย การใช้การระบุพิกัดผ่านดาวเทียม และนำเอาพิกัดดังกล่าวส่งไปกับคลื่นวิทยุผ่านทางดาวเทียมไปยังสถานีฐาน หากเกิดเหตุขึ้น อุปกรณ์สามารถส่งสัญญานขอความช่วยเหลือไปพร้อมกับพิกัด GPS ไปยังสถานีฐานที่เป็นหน่วยกู้ภัย ให้รับทราบถึงเหตุดังกล่าว และตำแหน่งที่ต้องเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
      
       ในการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญานขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัด GPS ได้พัฒนาอุปกรณ์ใน 4 ส่วน ใหญ่ ๆ คือ GPS Module Modem ระบบควบคุมการส่งสัญญานขอความช่วยเหลือ และเครื่องส่งวิทยุ อุปกรณ์แต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันในการทำงาน เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
      
       ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบการใช้งาน โดยจำลองการค้นหาผู้ประสบภัยในพื้นที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร พบว่า สามารถที่จะทราบเหตุที่เกิดขึ้นโดยทันที และสามารถที่จะเข้าช่วยเหลือได้ในเวลาไม่นานนักหลังจากได้รับสัญญานขอความช่วยเหลือดังกล่าว เนื่องจากทราบพิกัดของผู้ขอความช่วยเหลืออย่างละเอียด อีกทั้ง จากการทดสอบอุปกรณ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการส่งสัญญาน พบว่า สามารถส่งสัญญานได้ในระยะสูงสุดถึง 2,000 กิโลเมตรห่างจากสถานีฐาน โดยใช้ดาวเทียม HOPE-1 คือ สามารถรับพิกัดจากประเทสไทย (จังหวัดราชบุรี) จากหมู่เกาะตอนล่างของประเทศญี่ปุ่นได้ในระดับหนึ่ง
      
       เต้ยเริ่มหัดเขียนโปรแกรมตั้งแต่ ม.ต้น หาความรู้จาก อาจารย์ จากความรู้ต่างๆที่มีอยู่ ผมคิดว่าความรู้มีอยู่ทุกที่อยู่แล้ว จากนั้นก็หาประสบการณ์จากการแข่งขันด้านคอมพิวเตอร์มาเรื่อยๆ “ผมว่าคอมพิวเตอร์เป็นอะไรที่น่าสนใจ เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิตได้”
      
       “เต้ย” ยังบอกอีกว่า ทุกวันนี้เด็กรุ่นใหม่อย่างเขา สนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น แต่เด็กบางส่วนยังใช้คอมพิวเตอร์ไม่ถูก เอาเวลาส่วนใหญ่ไปใช้กับการเล่นเกม แต่ขณะเดียวกันเด็กหลายคนก็พัฒนาได้จากการเล่นเกมเช่นกัน ดังนั้น เขาเห็นว่าจะต้องมาปรับนิสัย ปรับพฤติกรรมเด็กให้ได้ ให้ใช้คอมพิวเตอร์ในทางสร้างสรรค์มากขึ้น
      
       จากความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้ พลกฤษณ์ หรือ “เต้ย” ได้โควตาเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในปีการศึกษาหน้านี้ และเขายังตั้งความหวังไว้ว่าอยากเป็นอาจารย์ด้านวิศวกรรมต่อไปในอนาคต

       วันนี้พามารู้จักกับเด็กไทยรักไอทีรุ่นใหม่ คือ นายพลกฤษณ์ สุขเฉลิม หรือ เต้ย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี จังหวัดราชบุรี เจ้าของผลงาน “โครงงานเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัด GPS” ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทประยุกต์ใช้งาน จาก โครงการ IPST ROBOT CONTEST 2010 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังจะเป็นจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประจำปี 2554 ที่จะถึงนี้
      
       “เต้ย” ศึกษาเทคโนโลยีวิทยุสื่อสารอยู่แล้ว จึงพัฒนาโครงงานนี้ขึ้นจากความสนใจที่มีอยู่เดิม ประกอบกับเหตุการณ์ หรือ อุบัติเหตุต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น เครื่องบินตกที่จังหวัดน่าน พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ไม่สามารถหาผู้ประสบภัยเจอ กลายเป็นอุปสรรคของการเข้าช่วยเหลือ
      
       ด้วยเหตุผลดังกล่าว เต้ยจึงได้พัฒนาโครงงานนี้ขึ้นมาโดยหวังว่าจะอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือและกู้ภัย โดยอุปกรณ์จะส่งสัญญานขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยกู้ภัยในทันทีที่เกิดเหตุ พร้อมทั้งพิกัดที่เกิดเหตุ เพื่อให้หน่วยกู้ภัยสามารถเข้าช่วยเหลือได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาค้นหา และช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ประสบภัยได้อย่างมาก ซึ่งโครงงานนี้มีอาจารย์กำธร ใช้พระคุณ เป็นคุณครูที่ปรึกษา
      
       โดยน้องเต้ยได้นำเอาเทคโนโลยีการระบุพิกัดด้วยดาวเทียม หรือ GPS มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สายด้วยคลื่นวิทยุ และการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมมาช่วยในการพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าว โดย การใช้การระบุพิกัดผ่านดาวเทียม และนำเอาพิกัดดังกล่าวส่งไปกับคลื่นวิทยุผ่านทางดาวเทียมไปยังสถานีฐาน หากเกิดเหตุขึ้น อุปกรณ์สามารถส่งสัญญานขอความช่วยเหลือไปพร้อมกับพิกัด GPS ไปยังสถานีฐานที่เป็นหน่วยกู้ภัย ให้รับทราบถึงเหตุดังกล่าว และตำแหน่งที่ต้องเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
      
       ในการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญานขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัด GPS ได้พัฒนาอุปกรณ์ใน 4 ส่วน ใหญ่ ๆ คือ GPS Module Modem ระบบควบคุมการส่งสัญญานขอความช่วยเหลือ และเครื่องส่งวิทยุ อุปกรณ์แต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันในการทำงาน เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
      
       ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบการใช้งาน โดยจำลองการค้นหาผู้ประสบภัยในพื้นที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร พบว่า สามารถที่จะทราบเหตุที่เกิดขึ้นโดยทันที และสามารถที่จะเข้าช่วยเหลือได้ในเวลาไม่นานนักหลังจากได้รับสัญญานขอความช่วยเหลือดังกล่าว เนื่องจากทราบพิกัดของผู้ขอความช่วยเหลืออย่างละเอียด อีกทั้ง จากการทดสอบอุปกรณ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการส่งสัญญาน พบว่า สามารถส่งสัญญานได้ในระยะสูงสุดถึง 2,000 กิโลเมตรห่างจากสถานีฐาน โดยใช้ดาวเทียม HOPE-1 คือ สามารถรับพิกัดจากประเทสไทย (จังหวัดราชบุรี) จากหมู่เกาะตอนล่างของประเทศญี่ปุ่นได้ในระดับหนึ่ง
      
       เต้ยเริ่มหัดเขียนโปรแกรมตั้งแต่ ม.ต้น หาความรู้จาก อาจารย์ จากความรู้ต่างๆที่มีอยู่ ผมคิดว่าความรู้มีอยู่ทุกที่อยู่แล้ว จากนั้นก็หาประสบการณ์จากการแข่งขันด้านคอมพิวเตอร์มาเรื่อยๆ “ผมว่าคอมพิวเตอร์เป็นอะไรที่น่าสนใจ เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิตได้”
      
       “เต้ย” ยังบอกอีกว่า ทุกวันนี้เด็กรุ่นใหม่อย่างเขา สนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น แต่เด็กบางส่วนยังใช้คอมพิวเตอร์ไม่ถูก เอาเวลาส่วนใหญ่ไปใช้กับการเล่นเกม แต่ขณะเดียวกันเด็กหลายคนก็พัฒนาได้จากการเล่นเกมเช่นกัน ดังนั้น เขาเห็นว่าจะต้องมาปรับนิสัย ปรับพฤติกรรมเด็กให้ได้ ให้ใช้คอมพิวเตอร์ในทางสร้างสรรค์มากขึ้น
      
       จากความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้ พลกฤษณ์ หรือ “เต้ย” ได้โควตาเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในปีการศึกษาหน้านี้ และเขายังตั้งความหวังไว้ว่าอยากเป็นอาจารย์ด้านวิศวกรรมต่อไปในอนาคต

รถพลังงานไฟฟ้า

มินิบัสไฮบริด" ต้นแบบรถพลังงานไฟฟ้า-แสงอาทิตย์ รับ-ส่งคนเมือง 




มินิบัสไฮบริดไฟฟ้า-แสงอาทิตย์

สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันมีข่าวดีสำหรับผู้โดยสารรถเมมาฝาก ระบบการทำงานแสงอาทิตย์ ไม่ก่อมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม   สำหรับคนที่นั่งรถมินิบัสเป็นประจำหากได้นั่งรถคันนี้สุขภาพน่าจะดีขึ้น ข้อมูลน่าสนใจขนาดนี้ไม่อ่านไม่ได้แล้ว

        
                สภาวิจัยแห่งชาติเปิดตัวมินิบัสไฮบริดไฟฟ้า-แสงอาทิตย์ชาร์จไฟเพียงแค่ 50 บาทสามารถแล่นได้ทั้งวัน ขณะที่มีต้นทุนต่ำ ตัวต้นแบบใช้ทุนไม่เกิน 3 ล้านบาท หัวหน้าทีมพัฒนาเชื่อหากได้ลองวิ่งให้บริการในกรุงเทพฯ จะคืนทุนได้ใน 1 ปี แถมไร้เสียง-ควันรบกวน ต่อไปจะทำให้มีต้นทุนต่ำกว่า 2 ล้านบาท ส่วนยานยนต์ต้นแบบเตรียมตบแต่งเพิ่มเติมก่อนทูลเกล้าถวายฯฉลองราชย์ 80 พรรษา

       
         
รถมินิบัสคันนี้มีขนาด 20 ที่นั่ง กว้าง 2 ม. ยาว 7 ม. และสูง 2.7 ม. มีเครื่องปรับอากาศขนาดเหมือนที่ใช้กันตามบ้าน พร้อมTVขนาด 42 นิ้ว เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับข่าวสารและความบันเทิงไปพร้อมๆ กัน โดยรถยนต์ต้นแบบนี้จะทำงานด้วยระบบจ่ายพลังงานแบบลูกผสมหรือ “ไฮบริด” คือ พลังงานไฟฟ้าที่ต้องชาร์จไฟทุกวันๆ ละ 8 ชั่วโมงภายหลังจากแล่นให้บริการมาตลอดวันแล้ว หรือคิดเป็นค่าไฟฟ้าต่อการชาร์จประมาณ 50 บาท/ครั้ง

       

       
ขณะที่แหล่งจ่ายพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ได้จากโซลาร์เซลล์บนหลังคารถจำนวน 10 แผง โดยเป็นเซลล์แสงอาทิตย์แบบมัลติคริสตัลไลท์ (Multi crystallize) ที่มีประสิทธิภาพการแปลงแสงแดดเป็นพลังงานได้สูงสุด 18% รถดังกล่าวแล่นได้ด้วยความเร็วสูงสุด 50-60 กม./ชม. และเพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้โดยสาร ทางทีมวิจัยยังได้ติดตั้งระบบขับเคลื่อน ระบบเบรก ระบบบังคับเลี้ยว และระบบกันสะเทือนไว้อย่างรัดกุมและผ่านการทดสอบแล้วในทุกระบบ

       

           ข้อดีของรถเมล์แสงอาทิตย์ คือ ช่วยกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น กับการออกแบบที่สอดคล้องกับการใช้งาน และการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ดี เนื่องจากรถมินิบัสพลังงานแสงอาทิตย์จะไม่ทำให้เกิดก๊าซพิษ ฝุ่นควัน แถมเครื่องยนต์ยังทำงานได้เงียบ จึงไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและทางเสียง จึงเป็นตัวพร้อมกับเลือกที่ดีที่กรุงเทพมหานคร      

      
รถยนต์ต้นแบบนี้จึงเหมาะสมกับการแล่นให้บริการด้วยระยะสั้น  โดยเฉพาะกับตัวเมืองที่มีการจราจรคับคั่งอย่างในกรุงเทพฯ เนื่อง จากระหว่างที่รถแล่นไปด้วยความเร็วไม่สูงนักก็จะทำให้แผงโซลาร์เซลล์ดูดซับ พลังงานแสงอาทิตย์ได้มากเพียงพอกับการใช้งานตลอดทั้งวัน 

                     

              

                                  
แหล่งที่มา  http://www.thaisarn.com/th/news

เปลี่ยนขยะเป็นน้ำมัน

เปลี่ยนขยะพลาสติกให้กลับไปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง

         ศิลปากรสร้างเครื่องต้นแบบเปลี่ยนขยะพลาสติกให้กลับไปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งเป้าขยายเป็นโรงงานต้นแบบกำลังผลิตขนาด 100 ลิตรต่อวันใช้ในชุมชน
       
         รศ.จำนงค์ ธำรงมาศ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หัวหน้าโครงการวิจัยการผลิตน้ำมันสังเคราะห์และก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก เปิดเผยว่า เครื่องผลิตน้ำมันสังเคราะห์และก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติกต้นแบบที่พัฒนา ขึ้นสามารถเปลี่ยนขยะพลาสติกกลับไปเป็นน้ำมันดีเซลและเบนซินที่มีคุณภาพ เทียบเท่ากับที่มีขายในท้องตลาด
       
        ทีมนักวิจัยได้นำพลาสติกมาศึกษาหลายชนิด จน พบว่าชนิดโพลีเอทธิลีนและพอลิโพรพิลีน หรือพวกถุงพลาสติกใส่ของส่วนใหญ่ มีสารประกอบคาร์บอนไฮโดรเจน แต่ไม่มีคลอรีน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมหลังการเผาไหม้ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำมันสังเคราะห์และก๊าซเชื้อเพลิง เครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเผาพลาสติกได้ครั้งละ 5 กิโลกรัมต่อครั้ง หัวใจสำคัญคือ การควบคุมความดันและอุณหภูมิ ทีมวิจัยเลือกใช้ความร้อนอยู่ระหว่าง 300 -700 องศาเซลเซียสทำให้เม็ดพลาสติกแตกตัวเป็นของเหลวและควบแน่นกลายเป็นไอจนกลั่นตัวเป็นน้ำมันและก๊าซประมาณ 5 ลิตร สามารถนำไปหุงต้มได้
         
         นักวิจัย กล่าวว่า เมื่อนำตัวอย่างน้ำมันสังเคราะห์และก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติกมาเปรียบ เทียบคุณภาพกับน้ำมันในท้องตลาดที่ได้มาตรฐานในห้องปฏิบัติการ พบว่า ก๊าซมีเทนให้ค่าความร้อนมากกว่าแก๊สแอลพีจี 15% ส่วน

            ต่อไปก็ก่อนทิ้งขยะที่เป็นพลาสติกน่าจะเก็บถุงพลาสติกเอาไว้ แยกขยะพลาสติกออกต่างหากเป็นสัดเป็นส่วนจะได้นำไปให้นักวิจัยเขาสังเคราะห์ เป็นนำมันเพื่อลดพลังงานและลดมลวะเป็นพิษทางอากาศ







ที่มา   http://news.thaieasyjob.com/technology/show_news-2309-8.html

เสื้อเกราะพลาสติก






มหิดล  ใช้เม็ดพลาสติกจากท้องตลาดพัฒนาเสื้อเกราะช่วยทหารใต้

สวัสดี ค่ะ วันนี้ดิฉันมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการคิดค้นหาวิธีช่วยเหลือทหารใต้ ที่เผชิญกับสถานการณ์อันรุนแรงในภาคใต้ คือ นักวิจัยกำลังพัฒนาเสื้อเกราะที่ผลิตมาจากเม็ดพลาสติกที่มีอยู่ตามท้องตลาด ที่นักวิจัยคิดค้นเพื่อการช่วยเหลือทหารที่ทำงานอยู่ในภาคไต้  



จาก ปัญหาจำนวนเสื้อเกราะกันกระสุนสำหรับทหารที่ประจำการปฏิบัติภารกิจอยู่ที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เพียงพอ อีกทั้งที่มีใช้อยู่นั้นต้องนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง รูปทรงไม่เหมาะสมกับคนไทย และอายุการใช้งานสั้นบริษัทพีทีที โพลิเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัดจึงสนับสนุนนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีงานวิจัยเส้นใยจากเม็ดพลาสติกโพลีเอทีลีนชนิดความหนาแน่นสูงด้วยจำนวน เงิน 5.5 ล้านบาทเป็นเวลา 18 เดือนเพื่อผลิตเสื้อเกราะ 100 ชุดเพื่อส่งมอบให้หน่วยงานราชการ ทั้งนี้ต้องการให้เป็นเสื้อเกราะที่ผลิตขึ้นจากงานวิจัยและวัสดุภายในประเทศ 100% โดยเบื้องต้นตั้งเป้าผลิตชุดเกราะหนัก 9 กิโลกรัมและผลิต ผลิตเสื้อเกราะให้เบาขึ้นเหลือ 6 กิโลกรัม
 
 การพัฒนาเส้นใยสำหรับเสื้อเกราะกันกระสุนโดยนำเม็ดพลาสติกโพลีเอทีลีนที่มีขายในท้องตลาดมายืดออกนั้น  ทำ ให้โมเลกุลยืดออกเป็นเส้นตรงและมีความแข็งแรงมากขึ้น เพื่อนำไปใช้ผลิตเป็นแผ่นพลาสติกสำหรับใส่เป็นแผ่นดูดซับแรงกระแทกจากกระสุน ในชั้นในของเสื้อเกราะ ชุดเกราะที่ผลิตได้นี้จะมีความสามารถกันกระสุนปืนยาวหรือไรเฟิลนับเป็นการ ป้องกันภัยบุคคลระดับ 3 ตามมาตรฐานของเอ็นไอเจ (National Institute of Justice) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นระดับที่รับแรงกระแทกจากกระสุนเอ็ม 16 ได้

 ชุด เกราะจะประกอบด้วยแผ่นเซรามิกส์ซึ่งมีความแข็งและกระจายแรงจากหัวกระสุนที่ พุ่งเข้ามาแบบหมุนควงได้ดี ส่วนแผ่นพลาสติกจะช่วยดูดซับแรงกระแทกและปัจจุบันสามารถยืดเส้นใยพลาสติกได้ 30 เท่า กำลังการผลิต คือ ผลิตได้ครั้งละเส้นด้วยความเร็วในการผลิต 30 เมตรต่อนาที ซึ่งคาดว่น่าจะมีการดำเนินการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ














ที่มา  http://www.thai-plastic.com

ข้าวเย็บแผล

นวัตกรรมทางการแพทย์แห่งโลกอนาคต
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



          ทีมวิจัย มช. คิดค้น ”ข้าวเย็บแผล” ซึ่งเป็นเส้นใยสำหรับเย็บแผลจากแป้งข้าวเจ้าชนิดย่อยสลายได้ด้วยวิธีการตาม ธรรมชาติ เพิ่มคุณสมบัติแรงดึงยืด ความทนทานน้ำ ด้วยผงนาโนคาร์บอนจากกะลามะพร้าว ให้เส้นใยสีดำเพื่อช่วยให้ศัลยแพทย์แยกแยะออกได้ง่ายเมื่อปะปนกับเลือดภายใน เนื้อเยื่อระหว่างผ่าตัด หวังสร้างผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยทรัพยากรข้าวของไทย โดยฝีมือคนไทย เพื่อประชาชนไทย 
           
          รศ.นพ.สิทธิพร  บุณยนิตย์ หัวหน้าโครงการวิจัย “วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า” (Absorbable Suture Made From Rice Starch) จากภาควิชาศัลยศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ และหน่วยวิจัยชีววัสดุและเครื่องมือแพทย์  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ข้าว  คือจิตวิญญาณของคนไทย  ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ใช่ผู้ผลิตข้าวอันดับหนึ่งของโลก  แต่ประเทศไทยก็มักจะเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกอยู่เสมอมา  ส่วนใหญ่ไทยส่งออกข้าวในรูปข้าวสารซึ่งมีราคาต่ำที่สุดของห่วงโซ่มูลค่า  วิธีการหนึ่งที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทยคือการปรุงแต่งข้าวให้เป็น ผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะวัสดุทางการแพทย์ที่มีราคาสูง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชั้นสูงที่ประเทศไทยต้องนำเข้าเป็นส่วนใหญ่   ในปี 2550 ประเทศไทยนำเข้าเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นจำนวนเงินประมาณ 90,000 ล้านบาท  ไม่นับรวมเวชภัณฑ์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม  อีกกว่า 60,000 ล้านบาท 
คณะผู้วิจัยมีเป้าประสงค์เพื่อ สร้างผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขึ้นเองในประเทศ  สำหรับประชาชนชาวไทย  โดยการใช้เทคโนโลยีต้นทุนต่ำ  ด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลักของประเทศไทย  และคาดหวังที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถจดสิทธิบัตรได้
            

          ทีมวิจัยจึงได้คิดค้น ”ข้าวเย็บแผล” หรือ วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้าขึ้น โดยเป็นวัสดุเย็บแผลแบบเส้นใยเดี่ยว ที่ได้ปรับปรุงสมบัติเชิงกลของแผ่นฟิล์มโพลิเมอร์แป้งข้าวเจ้าให้ดีขึ้นจาก การผสมสารตัวช่วย ได้แก่ เจลาติน คาร์บอกซีเมทธิลเซลลูโลส  และผงคาร์บอนขนาดนาโนเมตร  โดยคณะผู้วิจัยได้พัฒนาวิธีบดโม่แบบสั่นสะเทือนเพื่อผลิตผงนาโนคาร์บอนจาก กะลามะพร้าว ทำให้ได้ผงนาโนคาร์บอนปริมาณมากต่อครั้งด้วยราคาไม่แพงและมี ความบริสุทธิ์สูง จากการทดสอบความแกร่งทางแรงดึง แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการเติมผงนาโนคาร์บอนสามารถช่วยปรับปรุงสมรรถภาพความทน ทานน้ำและความแกร่งให้กับแผ่นฟิล์มโพลิเมอร์แป้งข้าว ซึ่งพบว่าเส้นใยเย็บแผลจากแป้งข้าวเจ้าที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มม. สามารถยกขวดบรรจุน้ำหนักมากกว่า 400 กรัม นอกจากนั้นสีดำของผงนาโนคาร์บอนยังช่วยให้ศัลยแพทย์สังเกตแยกแยะออกได้ง่าย เมื่อต้องปะปนกับเลือดภายในเนื้อเยื่อระหว่างผ่าตัดอีกด้วย

           

          สำหรับขั้นตอนการประดิษฐ์เป็นวิธีที่เรียบง่าย ได้แก่ การผสมวัตถุดิบในน้ำ ร้อนแล้วอบแห้งในเตาไฟฟ้า  ผลิตภัณฑ์สุดท้ายจะถูกตรวจวิเคราะห์สมบัติเชิง เคมีฟิสิกส์  การจับถือ  และชีววิทยา  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า  ข้าวเย็บแผลมีสมบัติที่เหมาะสมจะเป็นวัสดุเย็บแผล  กล่าวคือ  สามารถคงรูปเมื่ออยู่ในน้ำ มีค่าแรงดึงยืดขนาดสูงข้าวเย็บแผลยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
เนื่อง จากผลิตจากวัสดุที่ไม่เป็นพิษด้วยวิธีการที่ไม่สลับซับซ้อน จึงสามารถถูกย่อยสลายได้ง่ายด้วยวิธีการตามธรรมชาติและไม่มีผลข้างเคียงชนิด ร้ายแรง
        

          รศ.นพ.สิทธิพร  บุณยนิตย์  กล่าวเพิ่มเติมถึง แผนงานในอนาคตว่า ขั้นตอนต่อไปของการประดิษฐ์คือ  การบีบอัดและฉีดให้เป็นเส้นใย  การติดเข็มเย็บ  การทดสอบความเข้ากันได้ในสิ่งมีชีวิตและการใช้งานจริงทางสัตว์ทดลองและทาง คลินิก ซึ่งคาดว่าหากโครงการวิจัย “วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า” สามารถนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลายในอนาคตจะส่งผลดีทั้งต่อวงการวิทยาศาสตร์ วงการแพทย์  ตลอดจนการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย โดยในทางวิทยาศาสตร์นั้น จะก่อให้เกิดนวัตกรรมชีววัสดุ เป็นการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีการประดิษฐ์ที่มีต้นทุนต่ำ และเกิดการปฏิรูปงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย สำหรับในทางการแพทย์ วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า นับเป็นการพัฒนาวัสดุเย็บแผลชนิดใหม่ที่มีราคาถูก เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเกิดการจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของไทย ในด้านของผลดีทางเศรษฐกิจนั้น  นับ ว่าผลงานวิจัยชั้นนี้ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวเจ้าไทย ให้เกิดผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของประเทศไทย  จากฝีมือนักวิจัยไทย เพื่อช่วยลดการนำเข้า ตลอดจนช่วยส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยในอนาคต  
          และนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ผลงานวิจัย “วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า” นี้ ได้รับการประกาศเกียรติคุณรางวัลชนะเลิศการประกวดบทความทางการแพทย์ ในหัวข้อนวัตกรรมใหม่ของไหมเย็บแผลแห่งโลกอนาคตระดับประเทศ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551  ซึ่งจัดโดยบริษัทบี.บราวน์ (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าไปประกวดระดับนานาชาติ ในหัวข้อ “The Future of Sutures” (FUSU) ณ สำนักงานใหญ่ของ Aesculap Academy กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนีต่อไป

          นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้วิจัยพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับข้าวเจ้าอีกหลายผล งาน  อาทิ  ก้อนพรุนแบบอ่อนนุ่มสำหรับใช้ทดแทนกระดูกมนุษย์ผลิตจากข้าวเจ้าผสมกระดูกวัว แผ่นไฮโดรเจลที่มีฤทธิ์กรดผลิตจากข้าวเจ้าสำหรับห้ามเลือดในงานผ่าตัด  แผ่นฟองข้าวเจ้าที่อุ้มน้ำได้ปริมาณมากสำหรับใช้ห้ามเลือดในงานผ่าตัด  ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญทอง ในสาขาสุขภาพ จากโครงการประกวดผลงานสิทธิบัตรการประดิษฐ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ “ราชันแห่งปัญญา พัฒนาไทยให้ยั่งยืน  ซึ่งจัดโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา เมื่อปี 2550 ที่ผ่านมาด้วย.


---------------------------------------------------------------------------------------
ทีมวิจัย “วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า”
จากหน่วยวิจัยชีววัสดุและเครื่องมือแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รศ.นพ.สิทธิพร  บุณยนิตย์ หัวหน้าโครงการวิจัย (คนกลาง)
นายอนุชา รักสันติ
นายอนิรุทธิ์ รักสุจริต
นายรังสฤษฏิ์ คุณวุฒิ
นางสาวพันธุ์ทิพย์ นนทรี



*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและแหล่งข้อมูลทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา
Creative Commons License
สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
ท่านสามารถนำเนื้อหาในส่วนบทความไปใช้ แสดง เผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา ห้ามใช้เพื่อการค้าและห้ามดัดแปลง

เครื่องจับยุงนาโน

เครื่องจับยุงนาโนไร้กลิ่นไร้คราบ 

               ยุง เป็นพาหนะนำเชื้อไข้เลือดออก ในแต่ละปีเด็กไทยโดนคร่าชีวิตจากยุงเป็นจำนวนมาก และในปัจจุบันมีการประดิษฐ์อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากยุง เช่น  ยากันยุง สเปรย์กำจัดยุง เครื่องไล่ยุงไฟฟ้า เสื้อกันยุงสมุนไพร  ล่าสุดนักประดิษฐ์ไทยประยุกต์ใช้ความรู้ของศูนย์นาโนเทค ออกแบบเครื่องจับยุงรุ่นปลอดเชื้อโรค ส่งคลื่นความร้อนล่อยุงเข้ากับดัก ขังไว้จนตายเองใน 2-5 ชั่วโมง เผยไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีคราบเลือด

   
       เครื่องจับยุงนี้ภายในทั้ง 4 ด้านเคลือบด้วย "สารไททาเนียมไดออกไซด์" ซึ่งทำหน้าที่สะท้อนความร้อนของหลอดไฟ ทำให้เกิดอุณหภูมิที่เหมาะในการล่อแมลงหรือยุง แมลงหรือยุงที่เข้ามาในเครื่องจะถูกอบแห้งตายภายใน 2-5 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับขนาดของแมลง-ยุง จึงไม่มีกลิ่นเหม็นไหม้และคราบเลือด ในเครื่องจับยุง สารไททาเนียมไดออกไซด์ ช่วยฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากกระบวนการดักจับและอบแห้งจนยุงตาย อย่างไรก็ตาม เครื่องนี้ใช้ได้กับยุงตัวเมียเท่านั้น  โดยลดจำนวนยุงได้อย่างเห็นผลใน 3 เดือน
             นวัตกรรมเครื่องจับยุงชนิดนี้ เชื่อว่าสามารถนำไปใช้ได้จริง และไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ของเขาดีจริงๆ ค่ะ
    

        ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

กล้องหารอยเลือด

กล้องแบบใหม่ หาร่องรอยเลือดได้เหมือนในหนัง 

เวลา ที่คราบเลือดนั้นหายาก เจ้ากล้องที่ใช้อินฟาเรดตัวนี้สามารถที่จะช่วยผู้ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุใน การค้นหาร่องรอยต่างๆได้ ( รูปภาพจาก iStockPhoto )

แสงสว่างสีน้ำเงินอันลึกลับของลูมินอลในละครทีวีแนวอาชญากรรมนั้นอาจถูกแทนที่ด้วยอะไรที่ดูตื่นเต้นน้อยลง แต่ให้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น

นัก วิทยาศาสตร์จาก University of South Carolina ได้ทำการสร้างกล้องตัวใหม่สำหรับถ่ายรูปคราบเลือดเพื่อพิสูจน์คอนเซปต์ ซึ่งถ้าย่อขนาดและปรับปรุงประสิทธิภาพเรียบร้อยแล้ว เจ้ากล้องตัวนี้จะสามารถใช้งานโดยผู้ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุเพื่อหอร่องรอย เลือดที่เล็กที่สุด อีกทั้งตรวจสอบว่าคนๆหนึ่งนั้นได้จับต้องยาเสพติดหรือสารระเบิดมาก่อนหรือ ไม่

“มัน ถูกเรียกว่าการถ่ายภาพความร้อนหลายรูปแบบด้วยอินฟาเรด ซึ่งเราจะมีความสามารถในการตรวจจับรอยเปื้อนชนิดใดบนพื้นผิวใดก็ได้” Stephen Morgan กล่าว ซึ่งเขาและศาสตราจารย์ Michael Myrick พร้อมทั้งนักเรียนปริญญาโทสองสามคนจาก University of South Carolina ได้พัฒนาเทคโยโลยีเปิดเผยคราบเลือดดังกล่าวนี้ โดยผลงานวิจัยของพวกเขาถูกระบุไว้ในวารสาร ACS Analytical Chemistry
การค้นหารอยเลือดบนพื้นผิวต่างๆนั้นทำได้ยากกว่าที่คิด ในขณะที่ละครทีวีที่ใช้ลู มินอลอย่างมหัศจรรย์เพื่อให้รอยเลือดแสดงออกมาราวกับใช้เวทมนตร์นั้น ความเป็นจริงนั้นซับซ้อนกว่านั้นมาก และไม่ให้ผลที่ชัดเจนเท่าด้วย Morgan และ David Foran ผู้อำนวยการจากโครงการนิติวิทยาศาสตร์ที่ Michigan State University กล่าว ซึ่งเขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยในครั้งนี้

“รอย เลือดไม่ได้ตอบสนองได้ง่ายขนาดนั้น คุณจำเป็นที่จะต้องทำให้ห้องทั้งห้องนั้นมืดสนิทถึงจะเห็นรอยเลือดได้ อีกทั้งยังอยู่ได้ไม่นาน ทำให้เราต้องฉีดสารลงไปที่เลือดอยู่เรื่อยๆ ซึ่งทำให้มันไหลได้ อีกทั้งมันยังตอบสนองต่อสิ่งอื่นๆนอกจากเลือดอย่างเช่นสนิมได้อีก” Foran กล่าว

“ถ้าเรามีระบบที่ไม่ตอบสนองแล้วบอกผลลัพธ์ผิดล่ะก็ จะเป็นข้อได้เปรียบอย่างแน่นอน”

กล้องตัวใหม่ซึ่งใช้แสงอินฟาเรดที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะทางช่วง 3 - 6 ฟุตนั้นคาดว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ได้

ด้วย การถ่ายรูปจากสถานที่เกิดเหตุและไม่มีการฉีดสารเคมีที่ทำให้คราบเลือดไหลลง นั้น จะทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถรักษาหลักฐานที่อาจมีประโยชน์และได้ข้อมูลเพิ่ม เติมมากขึ้นกว่าเดิมได้

กล้อง ตัวนี้ยังสามารถที่จะหารอยเลือดจากวัสดุสีทึบอย่างเช่นผ้าฝ้ายสีดำซึ่งอาจ มองด้วยตาไม่เห็นได้ มันยังสามารถบอกความแตกต่างระหว่างเลือดกับสนิม ซึ่งปกติแล้วจะทำให้ลูมินอลส่องแสงออกมา ซึ่งส่งผลให้เกิดการเข้าใจผิดได้

กล้อง ชนิดใหม่ยังสามารถที่จะหาร่องรอยเลือดในปริมาณน้อยๆ อย่างเม็ดที่เล็กมากๆที่คนเรามองไม่เห็นแม้จะใช้ลูมินอลก็ตาม ซึ่งในบางกรณีที่ขึ้นอยู่กับความสะอาดของอาชญากรนั้น เราก็สามารถที่จะหาคราบเลือดที่ถูกชะล้างไปหรือโดนสารเคมีให้แตกตัวได้อีก ด้วย

เทคโนโลยี การถ่ายภาพแบบใหม่ของ Morgan ซึ่งตอนนี้ยังจำกัดการใช้งานเฉพาะในห้องทดลองนั้น สามารถเห็นอย่างอื่นได้นอกจากเลือดเพียงอย่างเดียว ถ้าดูที่ช่วงความยาวคลื่นของแสงเป็นพิเศษ เขากล่าวว่ากล้องจะสามารถที่จะถ่ายรูปรอยนิ้วมือของคนได้เช่นกัน ซึ่งหลังจากนั้นกล้องจะระบุเจ้าของลายนิ้วมือและบอกผู้ตรวจสอบว่ายาหรือสาร ระเบิดชนิดใดที่คนๆนั้นจับต้องมาก่อนได้อีกด้วย

“อุปกรณ์ ชนิดนี้ถือเป็นอุปกรณ์ของ CSI ในอาทิตย์หน้าได้เลย” Morgan กล่าว “ถึงตอนนี้จะยังเป็นแค่การพิสูจน์คอนเซปต์และเราก็ได้ทำการทดสอบไปไม่กี่ ครั้งก็ตาม แต่มันก็มีความเป็นไปได้อยู่มาก”



ที่มา : http://news.discovery.com/tech/blood-stain-camera-tech.html

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

สุขภาพดีเริ่มต้นด้วยเช้าวันใหม่

ในเวลาเช้าตรู่ หลายคนมักจะเร่งรีบแต่หารู้ไม่ว่าเวลาเช้าที่พึ่งตื่นนอนเป็นเวลาที่คุณสามารถมีสุขภาพดีได้ ดังนั้นหันมาใส่ใจกับเวลาตื่นนอนตอนเช้ากันดีกว่าค่ะ เพียงแค่คุณให้เวลากับตัวเองเมื่อตืนนอนมาตอนเช้าแล้วทำสิ่งเหล่านี้เป็นประจำ คุณก็จะเป็นคนหนึ่งที่สุขภาพดีได้ง่ายๆค่ะ






1. ดื่มน้ำสะอาด 1 แก้วใหญ่ เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณตื่นอย่างเต็มตา ช่วยกระตุ้นเมตาบอลิซึ่ม และช่วยให้ร่างกายได้รับความสดชื่นเตรียมพร้อมสำหรับกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ

2. เคลื่อนไหวร่างกาย หลังจากรองท้องด้วยของว่างแบบเบา ๆ ควรเริ่มต้นออกกำลังกายเพื่อให้หัวใจเต้นแรงและเลือดสูบฉีด มีผลการวิจัยบอกไว้ว่าการออกกำลังกายในตอนเช้าช่วยเบิร์นแคลอรีได้ดีกว่า

3. กินโปรตีนและไฟเบอร์ กาแฟกับมัฟฟินที่หลายคนชอบ ไม่ช่วยให้ได้รับพลังงานดี ๆ ที่ร่างกายและสมองต้องการ แต่การรับประทานโปรตีนและไฟเบอร์ในตอนเช้าจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ทั้งยังช่วยให้อิ่มไปจนถึงมื้อเที่ยง

4. เตรียมอาหารที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงอาหารยั่วใจที่ไร้คุณภาพ การเตรียมผักสลัด หรือผลไม้ใส่กล่อง ข้าวกล้องสำหรับมื้อเที่ยง จะช่วยให้คุณได้รับอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ และสะอาด

5. ทาครีมกันแดด รังสียูวีสามารถทะลุทะลวงผ่านหน้าต่างเข้ามา ผ่านเสื้อผ้าเข้าสู่ผิวของคุณได้โดยตรง ฉะนั้นการป้องกันผิวจากแสงแดดจึงเป็นเรื่องจำเป็น หลังอาบน้ำ ทาม้อยส์เจอร์ไรเซอร์แล้ว ควรต่อด้วยครีมกันแดด ถ้าไม่อยากเสี่ยงกับโรคมะเร็งผิวหนัง และรอยเหี่ยวย่นก่อนวัย